เกษตรอินทรีย์เพื่อสุขภาพที่ดีของคนสมัยใหม่

Organic Farming

เกษตรอินทรีย์เพื่อสุขภาพที่ดีของคนสมัยใหม่

การทำการเกษตรกรรมในยุคปัจจุบันมีการพัฒนามากมายไม่ว่าจะเป็นในด้านของวิทยาการความรู้ในการเพาะปลูก แนวทางในการทำเกษตรรูปผสมหรือนการทำการเกษตรสมัยใหม่นั้นเอง และหนึ่งในแนวทางการทำการเกษตรกรรมที่กำลังเป็นที่น่าสนใจนั้นก็คือ “เกษตรอินทรีย์”  ซึ่งในบทความนี้จะพาทุก ๆ ท่านไปทำความรู้จักกับการทำเกษตรอินทรีย์ที่ทั้งมีประโยชน์ทั้งเรื่องค่าใช้จ่ายในการเพาะปลูก สุขภาพของเกษตรกรและยังสามารถทำเงินทางด้านเศรษฐกิจได้อีกด้วยครับ การทำเกษตรอินทรีย์เป็นอย่างไรนั้น เรามาไปลุยกันเลย

เกษตรอินทรีย์คืออะไร?

เกษตรอินทรีย์ คือ การทำการเกษตรด้วยหลักธรรมชาติบนพื้นฐานการเกษตรที่ไม่มีการใช้สารพิษและหลีกเลี่ยงจากการปนเปื้อนจากการใช้สารเคมีต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมความอุดสมสมบูรณ์ของดินและน้ำด้วยปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติ ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศน์และการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้กลับคืนสู่สมดุลธรรมชาติโดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์หรือสิ่งที่ได้มาจากการตัดต่อพันธุกรรมเป็นปัจจัยในการผลิต และหากมีแผนการจัดการอย่างเป็นระบบแล้วในจะส่งผลให้ได้ผลผลิตสูง อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารและปลอดสารพิษอีกด้วย แถมใช้ต้นทุนการผลิตต่ำ

ประโยชน์ของการทำการเกษตรอินทรีย์มีอะไรบ้าง ?

สามารถแบ่งประโยชน์ของการทำเกษตรอินทรีย์ได้เป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้
1.ต้นทุนในการทำการเพาะปลูกต่ำ ได้ผลผลิตสูง
2.เป็นมิตรต่อเกษตรและสิ่งแวดล้อม
3.ไม่มีสารอันตรายตกค้าง เกษตรกรปลอดภัย ผู้บริโภคปลอดโรค
4.สามารถทำการเกษตรแบบผสมผสานควบคู่กับการทำปศุสัตว์ได้

หลักการผลิตพืชอินทรีย์มีดังต่อไปนี้

1. พื้นที่ที่จะทำการเกษตรนั้นต้องไม่เคยทำการเกษตรเคมีมาไม่น้อยกว่า 3 ปี
2. พื้นที่ควรมีลักษณะค่อนข้างดอนและโล่งแจ้ง
3. พื้นที่ต้องอยู่ห่างจากโรงงานอุตสาหกรรม
4. พื้นที่ควรอยู่ห่างจากแปลงที่ใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี
5. พื้นที่ห่างจากถนนหลวงหลัก
6. พื้นที่มีแหล่งน้ำที่ปลอดสารพิษ

การทำเกษตรอินทรีย์จะต้องมีมาตราฐานรองรับด้วยหรือไม่ ?

การทำเกษตรอินทรีย์และผลิตภัณฑ์อินทรีย์นั้นจะต้องมีเกณฑ์ข้อกำหนดที่เกษตรกรผู้ผลิตจะต้องปฏิบัติตาม และหน่วยงานรับรองจะใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจประเมินการผลิต และตัดสินใจในการรับรองฟาร์มที่ได้ปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานนั้นๆ ซึ่งโดยปกติแล้วในการกำหนดมาตรฐานโดยส่วนใหญ่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์กลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้ค้า ผู้บริโภค รวมทั้งนักสิ่งแวดล้อม และนักวิชาการด้านต่างๆ จะมีส่วนร่วมในการให้ความคิดเห็น และตัดสินใจในการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในแต่ละข้อ ความคาดหวังหรือการให้คุณค่ากับการปฏิบัติเกษตรอินทรีย์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่ละส่วนจะถูกตรวจสอบ และยอมรับหรือปฏิเสธโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ผลิตและผู้ประกอบการ เพราะผู้ผลิตและผู้ประกอบการจะเป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดเหล่านั้น ดังนั้น มาตรฐานจึงเปรียบเสมือนหนึ่งเป็นกระบวนการแปลความคาดหวังและคุณค่าของเกษตรอินทรีย์ให้เป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ ดังนั้น ข้อตกลงในมาตรฐานจึงเปรียบเหมือนเป็น “สัญญาประชาคม” ระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ทำให้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มีสถานะเสมือนหนึ่งเป็น “คำนิยาม” ของเกษตรอินทรีย์ไปพร้อมกันด้วย

การทำเกษตรอินทรีย์นั้นนอกจากเกษตรกรจะได้รับประโยชน์ทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายแล้ว ยังสามารถช่วยดูแลสุขภาพของตนและรวมไปถึงผู้บริโภค นอกจากนี้การทำเกษตรกรรมรูปแบบนี้ยังช่วยลดการก่อมลภาวะต่าง ๆ ต่อสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วยครับ